วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การทำบุญและการประกอบการกุศล

  การทำบุญและการประกอบการกุศล

การทำบุญ
ทาน คือการให้ ให้ของที่ควรให้ กับคนที่ควรจะให้เพื่อประโยชน์ต่อเขา สละให้ปันสิ่งของๆ ของตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ทานมี หมวดดังนี้ ทานที่ คือ อามิสทาน คือ การให้สิ่งของ ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทาน ทานที่ คือ สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้แก่เพื่อส่วนรวม ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ ทาน เป็นชื่อของการให้ และสิ่งที่ให้ คนที่ให้ทานท่านเรียกว่า ทานะบดี (ทานะบอดี) เป็นเจ้าของ คือเป็นเจ้าของทานนั้นตลอดไป ใครจะมาแย่งชิงเอาไปไม่ได้ ในทานสองหมวดนี้ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า ธรรมทาน (การให้ธรรมะเป็นทาน) และสังฆทาน (ให้แก่สงฆ์หรือส่วนรวม) ว่าเป็นทานเลิศของแต่ละฝ่าย แต่ในทานสองฝ่ายนี้ ย่อมจะต้องมีคู่กันไป จะตัดออกเสียแล้วเอาแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งนั้น ก็หาสำเร็จประโยชน์ไม่ โดยเฉพาะในหมวดที่ 1 นั้น อามิสทาน และธรรมทานจะต้องเดินไปด้วยกัน เหตุทั้งนี้เพราะ
อามิสทาน เป็นเครื่องบริหารกาย ธรรมทาน ก็เป็นเครื่องบริหารใจ ในสองอย่างนี้ จะต้องเดินเคียงกันอยู่เสมอ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่อาจที่จะสำเร็จประโยชน์อันสูงสุดได้ ดังนั้นในฐานะปุถุชนเต็มขั้น จึงควรที่จะบำเพ็ญทานสองอย่างนี้ควบกันไป ไม่ควรที่จะมุ่งทำแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะทานทั้งสองอย่างนี้ย่อมจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ร่างกายของคนย่อมต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงฉันใด? จิตใจก็ย่อมจะต้องอาศัยธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงฉันนั้น โดยเฉพาะชาวบ้านด้วยแล้ว ถ้าไม่บำเพ็ญทานเลย ภิกษุทั้งหลายก็อยู่ไม่ได้ เมื่อไม่มีภิกษุแล้ว พระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ได้อย่างไร
การทำบุญ เป็นการทำฝังขุมทรัพย์ไว้ ย่อมเป็นของเราตลอดไป ไม่มีใครจะมาแย่งเอาไปได้ ถ้าพอมีโอกาสไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ขอให้รีบทำอย่ารอไว้เมื่อนั่นเมื่อนี่ ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีหลักประกัน ข้อสำคัญให้ทำด้วยศรัทธาจริงๆ เป็นศรัทธาที่บริสุทธิ์ อย่าทำบุญเอาหน้า อย่าภาวนาหลอกลวง อย่าทำเพื่อหวังอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ควรตั้งเป้าไว้สองจุดคือ    เพื่อบูชาคุณท่าน หรือเพื่อสงเคราะห์ เพื่อขจัดความตระหนี่ หรือความเห็นแก่ตัว อย่าได้ไปหวังว่า ขอให้ไปเกิดเป็นคนรวย เกิดในสวรรค์วิมานชั้นสูงๆ หรือใหญ่ๆ มีทรัพย์สินเงินทองมากๆ นั่นไม่บริสุทธิ์ มีอานิสงส์อ่อน ไม่ขัดเกลากิเลส แต่เพิ่มตัณหาและเป็นไปเพื่อวัฏฏะไม่พ้นทุกข์ เราทำบุญทำทานไว้แล้ว ตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เราก็ต้องได้รับอยู่ จะต้องไปปรารถนาทำไม ถ้าจะปรารถนาก็ควรที่จะปรารถนาสิ่งที่สูงสุด คือปรารถนาพระนิพพานนั่นแหละ แต่ไม่ใช่ปรารถนาอย่างเดียวนะ ต้องทำเหตุร่วมด้วยจึงจะได้ การทำบุญทำทานไว้กับไม้กับมือของเราเองนี้ดีที่สุด แน่นอนที่สุด การมัวแต่ประมาทรอไว้ให้ญาติทำให้เมื่อตายไปแล้ว โอกาสที่เราจะได้รับนั้นยาก เพราะเราอาจจะไปเกิดในภูมิที่เรารับไม่ได้ หรือพอจะรับได้ แต่เขาไม่ทำบุญ หรือทำบุญจริง แต่เขาไม่อุทิศให้เรา เราก็อดอีก ฉะนั้นจงอย่าไปประมาทเลย ทำไว้ด้วยตนเองดีกว่า มีน้อยก็ทำแต่น้อย มีมากก็ทำมาก ทำตามกำลังทรัพย์ และทำตามกำลังศรัทธา โดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนเป็นดีที่สุด จากพระอรรถกถานี้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า ในการทำบุญทำทานทุกครั้งควรจะต้องมีการอุทิศส่วนบุญไปให้กับญาติของเรา และควรทำทุกๆ ครั้งไป สิ่งที่ไม่ควรคิดก็คือผลแห่งบุญนี้ไม่มีการหมดหรือพร่อง อย่ากลัวว่าเราอุทิศให้คนอื่นแล้วมันจะหมดหรือพร่อง บุญเป็นสิ่งประหลาด ยิ่งให้มันก็ยิ่งจะมาก อุปมาเหมือนเราจุดเทียนขึ้นมาเล่มหนึ่ง แล้วให้คนอื่นจุดต่อๆ กันไป แสงเทียนเล่มเดิมก็คงเดิม แต่แสงสว่างที่จุดต่อๆ กันไป ยิ่งเพิ่มแสงสว่างมากยิ่งขึ้น ผลแห่งบุญก็เช่นเดียวกัน ยิ่งให้ก็ยิ่งจะม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น