วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาษาไทย

                                                                      ภาษาไทย   





ภาษาไทย คือ ภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ถึงแม้จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการใช้ศัพท์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ และอักษรไทยที่ใช้ในภาษาเขียนโดยทั่วไป
ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง



พ่อขุนรามคำแหง ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน ปีพ.ศ.1826

อักษรไทยสมัยโบราณ


การแต่งกายของไทย

                                                           การแต่งกายของไทย

การแต่งกาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการแต่งกายของชาวไทยจะเป็นสากลมากขึ้น แต่ก็ยังคงเครื่องแต่งกาย ของไทยไว้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น ในงานพระราชพิธี งานที่เป็นพิธีการ หรือในโอกาสพบปะ สังสรรค์ระหว่างผู้นำ พิธีแต่งงาน เทศกาลและงานประเพณีที่จัดขึ้น หรือในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ในบางหน่วยงานของราชการ มีการรณรงค์ให้แต่งกายในรูป แบบไทย ๆ ด้วย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

การแต่งกายของไทย

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ
  การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ  
          นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร"
           แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ

การไหว้

งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทย
          กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้อง ที่เคารพรักทุกท่านนะครับ วันนี้ชายน้อยขอนำพาพ่อแม่พี่น้องมารู้จักกับ กิริยามารยาทไทย งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทยกันนะครับ อ๊าาาาาากกกกกก แอ๊บแบ๊วเป็นที่สุด รับตัวเองไม่ได้ ๕๕๕๕

ข้อความขั้นต้นก็เป็นการเกริ่นนำเข้าบทความที่จะกล่าวถึงในวันนี้แหละ ครับ ซึ่งไม่ได้เป็นคนเขียนเอง (อีกแล้ว - แต่ก็มีเสริมในส่วนที่ขาดล่ะนะ) แต่นำมาจากปฏิทิน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ของ ธนาคารนครหลวงไทย ครับ เห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยนำมาเผยแพร่ต่อครับ 

การไหว้ ถือ ว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทย ที่ตั้งแต่เรียนรู้ที่จะพูดได้ และเริ่มแกว่งไม้แกว่งมือได้ พ่อแม่ทุกคนก็จะต้องสอนลูกให้ยกมือไหว้ และกล่าวคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ กันก่อนเลย และก็มักจะหลอกล่อว่าให้ไหว้สวย ๆ สิคะ อะไรประมาณนี้ใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ แล้ว เรารู้หรือเปล่า ว่าการไหว้แบบไทย ๆ ที่ว่าสวย ๆ นั้น เค้าต้องทำอย่างไร  
    สมัยผมเป็นเด็ก พอเข้าชั้นประถม ก็จะมีวิชาจริยธรรม ที่จะสอนการไหว้ที่ถูกต้อง ถูกธรรมเนียม พอขึ้นมัธยมก็มีการสอนกันอีกครั้ง เพื่อกันลืม จนจำได้ด้วยร่างกายว่า ไหว้พระ ไหว้ผู้ใหญ่ ไหว้คนอายุเท่ากัน และรับไหว้ ต้องทำอย่างไร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ยอมรับว่ายังไหว้ถูกอยู่ แต่มือแข็งครับ ไม่ค่อยยกมือไหว้ และก็ชอบพูดสั้น ๆ ว่า "หวัดดีครับ" กลายเป็นนิสัยที่ไม่งามไปเสียแล้ว ซึ่งก็พยายามไม่ให้เผลอเรออยู่ครับ 
การไหว้ การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้นะครับ และในการยกมือขึ้นมาไว้ จะมีด้วยกัน ๓ ระดับ ขึ้นอยู่กับว่า ไหว้ใคร คือ 
๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ

๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว

๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ

การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์
        การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย

สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้

ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร 

ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม

  การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง 
  

 
สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้  
ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา
ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก  
จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก

       จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง

      จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง 
การไหว้พระ
ประนมมือ นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงต่ำ พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้
           การประเคนของแด่พระสงฆ์
ชาย ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในระยะหัตถบาส (ระยะที่มือพระท่านเอื้อมมือถึง) ยกของขึ้นประเคนในลักษณะมือต่อมือได้เลย (คือยกให้ท่านรับได้เลย) เมื่อประเคนเสร็จ จะไหว้หรือกราบก็ได้ แล้วแต่กาลเทศะ เสร็จแล้วถอยออกโดยวิธีเดินเข่า (ถอยออกนะครับ ไม่ใช่กันหลังขวับ แล้วเปิดแน่บ)
หญิง ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในเช่นเดียวกับผู้ชาย ยกของขึ้นประเคนโดยวางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดออกมา เมื่อประเคนเสร็จ ปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย

ที่อยากจะเตือนหน่อยนึง คือ เวลาเข้าวัดเข้าวา ก็แต่งกายให้มิชิดหน่อยนะครับ
 
การถวายความเคารพแบบสากล

ชาย ใช้ วิธีถวายคำนับ โดยค้อมลำตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวลงให้ต่ำพอสมควร (ไม่ต้องก้มลงไปจนมองเห็นเข็มขัดตัวเองนะครับ แบบนั้นไม่สง่า) เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม
หญิง ใช้ วิธีถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว แบบสากลนิยม ยืนตัวตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง ปล่อยแขนตรงแนบลำตัว สายตาทอดลง เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม

การหมอบกราบ
ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลงมาถึงพระ บรมวงศ์ในโอกาสเข้าเผ้าฯ ทั้งชายและหญิง ให้นั่งพับเีพียบเก็บปลายเท้า แล้วหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้น คร่อมเข่าี่ที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประสาน เรียกว่า หมอบเฝ้า เวลากราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ ถ้าท่านทรงพระราชทานสิ่งของให้ ให้ยกมือขวาขึ้นเอางาน ในลักษณะเดียวกับการรับปริญญาบัตร คือยกมือขวาขึ้น ฝ่ามือตั้งฉากกับพื้น กระดกข้อมือขึ้นเล็กน้อย แล้วตวัดมือมาอยู่ในท่าเตรียมรับสิ่งของ โดยทำมือเป็นอุ้งเล็กน้อย เมื่อรบสิ่งของมาแล้ว ให้ประคองสิ่งของนั้นไว้ แล้วกราบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับมานั่งในท่าหมอบเฝ้า แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบ หรือคลานถอยหลังออกไปจนพ้นที่ประทับ



 
การทูลเกล้าฯถวายของ
ของที่จะทูลเกล้าฯถวายนั้น ต้องเป็นของเบา และมีพานรองรับ โดยผู้ถวายใช้มือทั้งสองจับคอพาน
ในกรณีของผู้ชาย ให้ถือพานถวายคำนับ เดินเข้าไปห่างจากที่ประทับพอควร ลดพานลง ถวายคำนับ ย่อตัวก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เข่าซ้ายจรดพื้น แล้วยกพานขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เมื่อพระองค์ทรงหยิบของออกจากพานแล้ว ให้ลุกขึ้น ดึงเท้าขวากลับมาชิดเท้าซ้าย ถวายคำนับ แล้วเดินถอยหลังจนพ้นที่ประทับ
 สำหรับฝ่ายหญิง ให้ถือพานเช่นเดียวกัน แต่ในการถวายความเคารพ ให้ใช้การถอนสายบัวแบบสากลนิยม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนฝ่ายชายทั้งหมด
การกราบผู้ใหญ่

ใช้กราบผู้อาวุโส หรือผู้มีพระคุณ ทั้งหญิงและชาย ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ทอดมือทั้งสองลงพร้อมกัน ให้แขนค่อมเข่้าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ กราบเพียงครั้งเดียว โดยไม่แบมือ เมื่อกราบเสร็จ ประสานมือดันตัวลุกขึ้นนั่งในท่าพับเพียบ
การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส
ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว
ชาย ยืนตรง ต้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

การไหว้บุคคลทั่วไป
ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
ชาย ยืนตรง ต้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้  
หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้


การไหว้ผู้ที่เสมอกัน
ยืนตัวตรง ประนมมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ทั้งชายและหญิง การไหว้จะไหว้พร้อม ๆ กันสำหรับมารยาทในการไหว้งาม ๆ ก็จบลงเพียงเท่านี้ มีแถมเรื่องอื่น ๆ ที่อาจจะได้ใช้บ้างเล็กน้อย ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ จะใส่ใจกับการไหว้กันมากขึ้นนะครับ ไหว้ให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น งามแท้แน่นอนครับ แต่ไหว้ผิด ๆ นี่ไม่งามจริง ๆ นะครับ เคยลองสังเกตกันดูหรือเปล่า

ความจริงแล้ว ที่ผมเขียนเรื่องนี้ ก็สืบเนื่องมาจากตอนที่ไปรับทุนที่มหาวิทยาลัยแหละครับ ผมไม่เห็นมีนักศึกษาคนใดเลยที่ไหว้ได้อย่างถูกต้องงดงาม ดู ๆ ไป ออกอาการเหมือนไก่จิกข้าวสาร คือผงกหัวหงึก ๆ ย่อตัวแบบเร็ว ๆ เหมือนเพลี๊ยกระโดด ไม่รู้จะรีบไปไหน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เด็กสาวที่ผมพูดถึงนี้ เธอได้ทุนวัฒนธรรมไทย อะไรสักอย่างนี่แหละครับ โอ้วพระเจ้า ถ้าผมเป็นอธิการบดี ผมสั่งงดทุนเดี๋ยวนั้น จนกว่าเธอจะไหว้ได้ถูกต้องเลยล่ะ

   

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี


ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ประเทศไทยมีการติดต่อกับหลายเชื้อชาติ ทำให้มีการรับวัฒนธรรมของชาติ ต่าง ๆ เข้ามา  แต่คนไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และปฏิบัติสืบต่อกันมาจน กลายเป็น ส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของไทยการท่องเที่ยวนั้น นอกจากจะก่อให้เกิดการสร้างงาน อันนำมาซึ่งรายได้สู่ท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศแล้ว ยังเป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวประกอบด้วยปัจจัยหลาย ประการ แต่ที่สำคัญก็คือ ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลาย เรียงรายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่ง ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง และอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็น ทรัพยากรอันมีค่าทางการท่องเที่ยวของประเทศ ประเภทศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น จะเห็นได้ว่า นอกจากทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติประเภทที่ 1 แล้ว ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวประเภท ที่ 2 และ 3 นั้นมีรากฐานมาจาก "วัฒนธรรมและประเพณี" ทั้งสิ้น 
ความหมายของวัฒนธรรม
     มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้มากมาย แต่เมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญแล้ว สรุปได้ว่า "วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป

วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นทำให้คนไทย แตกต่างจากชาติอื่น ๆ มีเอกลักษณ์ประจำชาติที่เห็นได้จากภาษาที่ใช้ อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนการ แสดงออกที่นุ่มนวล อันมีผลมาจากสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี กล่อมเกลาจิตใจมีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดมา
หากแบ่งวัฒนธรรมด้วยมิติทางการท่องเที่ยวแล้ว จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม หมายถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ ไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องได้ เป็นการแสดงออกในด้าน ความคิด ประเพณี ขนบธรรมเนียม แบบแผนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มของ ตนว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสม เช่น ศาสนา ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ และความสามารถ วัฒนธรรม ประเภทนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ขึ้นได้ และในบางกรณีอาจพัฒนาจนถึงขั้นเป็น อารยธรรม (Civilization) ก็ได้ เช่น การสร้างศาสนสถานในสมัยก่อน เมื่อเวลาผ่านไปจึงกลายเป็นโบราณสถาน ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
        หากพิจารณาความหมาย และลักษณะของวัฒนธรรมที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทที่ 2 เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมที่มีตัวตน เป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน ส่วนประเภทที่ 3 มีสภาพแรกเริ่มมาจากแนวความคิด ความเชื่อและวิถีชีวิต ซึ่งเป็นนามธรรม แต่ได้มีการพัฒนาจนมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบขึ้นมา ทำให้นัก ท่องเที่ยวสามารถสัมผัสทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทนี้ได้โดยตรง จึงเห็นได้ชัดเจนว่า วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้ ตัวอย่างวัฒนธรรมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยาน ประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน โบราณวัตถุ งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน เทศกาลและงาน ประเพณี งานศิลปหัตถกรรมที่พัฒนามาเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และอัธยาศัยไมตรีของ คนไทย ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย เป็นเสมือนตัวเสริมการท่องเที่ยวให้มีความ สมบูรณ์ เป็นจุดเด่นหรือจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพิ่มความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ถึงแม้ว่า ประเทศไทยจะมีทรัพยากรประเภทศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ก็มีการผสมผสานสอดคล้องเป็นวัฒนธรรมไทย ได้อย่างกลมกลืน


       แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งศาสนสถาน หรือโบราณวัตถุและ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ แสดงอดีตความเป็นมาของชาติไทย ที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมี อายุ 3-4 พันปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นแหล่งโบราณคดีกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ต่อมาในยุคสมัยประวัติ ศาสตร์ อาณาจักรของชนชาติไทยก็รวมกลุ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เป็นลำดับ ระยะเวลาอันยาวนานนี้ ทำให้มีการสั่งสมความเจริญทางวัฒนธรรมแต่ละยุคแต่ละสมัย ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
แหล่งศิลปกรรมที่มีคุณค่ายิ่งเหล่านี้ นอกจากจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ ประเทศอีกด้วย บางแห่งถือเป็นแหล่งอารยธรรมระยะแรก ๆ ที่ปรากฏขึ้นในโลก มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนัก โบราณคดี ได้แก่ แหล่งชุมชนโบราณที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจพิเศษ (Special Interest Group)
ในภูมิภาคเดียวกับแหล่งชุมชนโบราณบ้านเชียง ยังมีแหล่งท่องเที่ยวในรูปของสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ เป็น ปราสาทที่ก่อสร้างด้วยอิฐหรือหิน มีอาณาเขตกว้างขวาง การจัดองค์ประกอบรูปทรงเป็นระเบียบ มีการกำหนดรูป แบบทางภูมิสถาปัตย์ที่สวยงาม ตลอดจนการจำหลักลายที่ประณีตละเอียดอ่อน ปราสาทที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหิน พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์
ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ มีปราสาทที่สำคัญ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชฌนาลัย จ.สุโขทัย และอุทยาน ประวัติศาสตร์ จ.กำแพงเพชร ภาคใต้มีหลักฐานของชุมชนโบราณที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของโลก
ความหมายของประเพณี
      ประเพณี มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ กระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน
ประเพณีเกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น ประเพณี คือ ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือ เป็นระเบียบแบบแผน และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน และยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอ และกลมกลืนเข้ากันได้ดี
ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่า ถูกต้องกว่า หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ใน สังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา
ประเพณี คือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคม ของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย  ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน ถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณี เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดก คนรุ่นหลังจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย
ประเพณีแบ่งตามลักษณะของความเข้มงวดในการที่จะต้องปฏิบัติตาม เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ จารีตประเพณี หรือ กฎศีลธรรม (Mores) คือ ประเพณีที่สังคมถือว่าถ้าใครฝ่าฝืนงดเว้นไม่ กระทำตามถือ ว่าเป็นความผิด จารีตประเพณีเกี่ยวข้องกับศีลธรรมของคนส่วนรวมในสังคมไทย เช่น การแสดงความ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น
จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรมของแต่ละแห่งย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยม (Value) ที่ยึดถือต่าง กัน ดังนั้น ถ้าบุคคลใดนำจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นว่าดีหรือเลวกว่าตนก็เป็นการ เปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพหรือสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อต่าง ๆ ย่อมต่างกันไป เช่น เรา เคารพผู้ที่อาวุโสกว่า แต่ชาวอเมริกันรักความเท่าเทียมกัน
ขนบประเพณี (Institution) บางครั้งเรียกว่าระเบียบประเพณี หมายถึงประเพณีที่สังคมกำหนด ระเบียบ แบบแผนไว้อย่างชัดว่า ควรจะประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นตอนอย่างไร เช่น ประเพณีแต่งงานต้องเริ่มตั้งแต่การ หมั้น การแต่ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีพิธีมากมายสำหรับคู่บ่าวสาวต้องปฏิบัติตาม หรือพิธีศพ ซึ่งจะต้องเริ่ม ตั้งแต่มีการรดน้ำศพ แต่งตัวศพ สวดศพ เผาศพ เป็นลำดับ ธรรมเนียมประเพณี (Convention) หมายถึง ประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน หากมี การฝ่าฝืนก็ ไม่ถือเป็นเรื่องผิด นอกจากจะเห็นว่าเป็นผู้เสียมารยาทเท่านั้น ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี